“โถปัสสาวะชาย คือ เครื่องสุขภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานของผู้ชายโดยเฉพาะ มีหลากหลายรูปแบบ ขนาด และรูปทรง เพื่อความเหมาะสมสำหรับทุกสรีระ และการใช้งาน ซึ่งแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้ nahm มีข้อมูลดี ๆ มาฝากกันครับ
“โถปัสสาวะชาย แบบตั้งพื้น”
โถปัสสาวะชาย แบบตั้งพื้น ลักษณะพิเศษ คือ ตัวโถจะมีขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทุกวัยและทุกสรีระ เนื่องจากความสูงที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งาน ได้รับความนิยมในการเลือกติดตั้งในห้องน้ำสาธารณะมากกว่าติดตั้งในตัวบ้าน แต่ปัจจุบันโถปัสสาวะชาย แบบตั้งพื้นได้ถูกออกแบบให้มีขนาดที่เล็กลงและมีรูปทรงที่มีสไตล์มากขึ้น
การติดตั้ง : ตัวโถจะถูกยึดติดเข้ากับพื้นห้องน้ำ โดยท่อน้ำทิ้งจะมีทั้งแบบลงพื้น (ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากการเตรียมพื้นที่หน้างานที่มีความซับซ้อนและแม่นยำสูง) และแบบออกผนัง (จะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากการติดตั้งไม่ยุ่งยาก)
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละโถปัสสาวะและการเลือกใช้งานนะครับ
"โถปัสสาวะชาย แบบแขวนผนัง"
คุณสมบัติพิเศษของรูปแบบนี้ คือ ขนาดที่เล็ก มีรูปทรงและรูปแบบที่น่าสนใจ จึงทำให้นิยมนำมาติดตั้งในบ้านพักอาศัยหรือห้องน้ำสาธารณะมากขึ้น โดยระบบการชำระล้างมีทั้งแบบท่อน้ำเข้าด้านบน ท่อน้ำเข้าด้านหลัง และระบบ Sensor
การติดตั้ง : มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเลยครับ มีทั้งแบบใช้ตะขอยึดผนังเพื่อแขวนติดตั้ง และแบบพุกยึดผนังกับโถปัสสาวะ โดยระยะความสูงที่นิยมติดตั้งสำหรับการใช้งาน (วัดจากพื้น - ขอบปากเซรามิค) จะอยู่ที่ระยะ 600 mm. ซึ่งระยะดังกล่าวนี้ สามารถปรับได้ตามความสูงที่เหมาะสมของผู้ใช้งานครับ
1. โถปัสสาวะชาย แบบแขวนผนัง (ท่อน้ำเข้าด้านบน)
โดยทั่วไปโถปัสสาวะรูปแบบนี้จะมีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ใหญ่เกินไปสำหรับการติดตั้งและใช้งาน มีฟลัชวาวล์ต่อด้านบน เป็นตัวควบคุมการ เปิด-ปิด น้ำเพื่อชำระล้าง เหมาะกับห้องน้ำสาธารณะ หรือบ้านพักอาศัย
การติดตั้ง : จัดเตรียมพื้นที่หน้างานสำหรับการติดตั้ง โดยในเบื้องต้นจะต้องทราบระยะการติดตั้งของโถปัสสาวะที่ต้องการ ทั้งระยะทางน้ำเข้า ตรงตำแหน่งฟลัชวาวล์ / ระยะทางน้ำออก และระยะการติดตั้งเพื่อยึดติดแขวนโถปัสสาวะ
เพิ่มเติม : เราสามารถเลือกปริมาณน้ำที่ใช้ในการชำระล้างได้จากฟลัชวาวล์ (สามารถเลือกได้ตั้งแต่ 1 ลิตรเป็นต้นไป โดยดูจากขนาดของโถปัสสาวะและความเหมาะสม ยิ่งโถปัสสาวะมีขนาดเล็ก ก็จะสามารถเลือกใช้ปริมาณน้ำได้น้อยลง ถือเป็นการประหยัดน้ำได้อีกทางหนึ่งนะครับ) ซึ่งแต่ละรุ่นจะกำหนดปริมาณการใช้น้ำที่แตกต่างกัน (จะแตกต่างจากโถสุขภัณฑ์ ที่ระบบน้ำจะถูกระบุไว้ตั้งแต่ต้น)
1. โถปัสสาวะชาย แบบแขวนผนัง (ท่อน้ำเข้าด้านหลัง)
จะมีลักษณะคล้ายกับแบบท่อน้ำเข้าด้านบน จะแตกต่างกันก็เพียงแต่การใช้งานและการเตรียมพื้นที่หน้างานเพื่อติดตั้งครับ โถปัสสาวะชาย แบบแขวนผนัง (ท่อน้ำเข้าด้านหลัง) จะมี 2 แบบ คือ
การติดตั้ง : จะต้องเตรียมรูท่อน้ำดี (ที่ต้องต่อเข้ารูด้านบนส่วนหลังของโถปัสสาวะ) รูท่อน้ำทิ้ง (ที่ต้องต่อเข้ารูด้านล่างของโถปัสสาวะ) ที่แต่ละรุ่นจะมีความสูงที่แตกต่างกัน ส่วนเพิ่มเติม คือ ชุดอุปกรณ์ฟลัชติดผนัง ได้แก่ ชุดปุ่มกด สำหรับกดเพื่อชำระ และชุดอุปกรณ์ฟลัช ที่จะถูกต่อเข้ากับรูท่อน้ำดี เพื่อสั่งให้น้ำดีทำงาน โดยจะถูกติดตั้งอยู่ภายในกำแพง ดังนั้น จึงควรมีการเช็คระยะก่อนการติดตั้งนะครับ
การทำงานที่ 1 : ชำระล้าง 2 ครั้ง ก่อน – หลังการใช้งาน สำหรับการใช้งานปกติ เพื่อสุขอนามัยที่ดี โดยลดการสัมผัสกับโถปัสสาวะ
การทำงานที่ 2 : ชำระล้าง 2 ครั้ง ก่อน – หลังการใช้งาน และในช่วงการใช้งานติดต่อกันแบบเร่งด่วน หากเซ็นเซอร์สามารถตรวจจับการใช้งานติดต่อกันได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ระบบจะสั่งชำระล้างหลังการใช้งานแทน เพื่อความรวดเร็วในการใช้งานและความคุ้มค่าของปริมาณน้ำที่ใช้งาน
การทำงานที่ 3 : ชำระล้างภายใน 24 ชม. หลังจากการใช้งานล่าสุด ระบบจะชำระล้างอัตโนมัติ เพื่อทำความสะอาดคราบไคลต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและป้องกันกลิ่นรบกวนจากการใช้งาน
การติดตั้ง : จะคล้ายกับการติดตั้งโถปัสสาวะชายแบบปุ่มกดเลยครับ แต่จะเพิ่มเติมในส่วนของการเตรียมระบบไฟบ้านเพื่อต่อเข้ากับระบบการทำงานของโถปัสสาวะชาย ให้สามารถทำงานได้ จากไฟบ้านปกติ 220 v. ผ่านตัวแปลงไฟ (Adaptor) เป็น 6 v. เพื่อต่อเข้ากับระบบการทำงาน sensor ของโถปัสสาวะชาย
หากใครที่กำลังมองหาโถปัสสาวะชาย สำหรับห้องน้ำในบ้าน ในอาคารสำนักงาน หรือในพื้นที่ชุมชน การเลือกซื้อโถปัสสาวะชายในครั้งต่อไปก็จะไม่ได้เป็นเรื่องยากอีกต่อไปแล้วนะครับ หรือหากใครที่กำลังสงสัย มีข้อมูลที่ต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากเห็นโถปัสสาวะชาย สามารถสอบถามหรือเยี่ยมชมโชว์รูม nahm ได้ที่ตัวแทนจำหน่ายทุกสาขาทั่วประเทศได้เลยนะครับ
ค้นหาสินค้าที่เกี่ยวข้อง : อ่างล้างหน้า, ชักโครก, สุขภัณฑ์ห้องน้ำ, ก๊อกเดี่ยวอ่างล้างหน้า, ฝักบัวยืนอาบก๊อกผสม, สุขภัณฑ์, โถสุขภัณฑ์, โถส้วม